logo
← Back to blogs

Published: 2024-02-21

งานโรงแรมมีตำแหน่งอะไรบ้าง

งานโรงแรมมีตำแหน่งอะไรบ้าง

ธุรกิจโรงแรม เป็นธุรกิจบริการที่มีตำแหน่งงานหลากหลาย ซึ่งแต่ละตำแหน่งล้วนมีความสำคัญต่องานโรงแรมทั้งนั้น เรามาดูกันว่า หากคุณเป็นเจ้าของกิจการโรงแรมจะต้องมีพนักงานตำแหน่งใดบ้าง

Artwork (8).png

  • แผนกต้อนรับส่วนหน้า (Reception)
  • แผนกแม่บ้าน (Housekeeping)
  • แผนกครัว (Chef)
  • แผนกบัญชี (Accounting)
  • แผนกขายและการตลาด (Sale & Marketing)
  • แผนกต้อนรับส่วนหน้า (Reception)

แผนกต้อนรับส่วนหน้าเป็นแผนกที่ทุกโรงแรมต้องมี เมื่อมีแขกเข้ามาในโรงแรม ก็ต้องเดินมาที่เคาเตอร์แผนกต้อนรับก่อนเสมอ พนักงานต้อนรับมีหน้าที่ต้อนรับแขก ตรวจสอบข้อมูลการจองห้องพัก และขอให้แขกลงทะเบียน และชำระค่าห้องพัก แผนกต้อนรับ หรือสำนักงานส่วนหน้านั้นอาจเปรียบได้กับศูนย์รวมเส้นประสาท (nerve center) หรือศูนย์ประสานงานของโรงแรม และมีบทบาทสำคัญในการติดต่อประสานงานกับแผนกอื่น ๆ ในโรงแรมเพื่อช่วยเหลือเรื่องต่าง ๆ เมื่อแขกเรียกร้อง แผนกต้อนรับส่วนหน้าแบ่งออกเป็นหน่ยงานย่อยๆ ดังนี้

Artwork (9).png

  • ผู้จัดการสำนักงานส่วนหน้า (Front Office Manager)
  • พนักงานต้อนรับ (Reception)
  • พนักงานสัมภาระ (Hall Porter)
  • พนักงานสัมภาระภาคกลางคืน (Night Porter)
  • พนักงานรับโทรศัพท์ (Telephone หรือ Telephone Operator)
  • เจ้าหน้าที่สำรองห้องพัก (Reservations Clerk)
  • พนักงานแคชเชียร์ (Cashier)
  • แผนกแม่บ้าน (Housekeeping)

ในบางโรงแรมแผนกแม่บ้านทั้งหมดจะขึ้นตรงกับผู้จัดการใหญ่ (General Manager) แต่บางโรงแรมก็ขึ้นตรงกับผู้จัดการส่วนหน้า (Front of House Manager) ในแผนกแม่บ้านจะมี หัวหน้าแม่บ้าน (Head Housekeeper) ทำหน้าที่คอยดูแลตรวจตราการทำงานของผู้ช่วยแม่บ้าน หรือแม่บ้านประจำฟลอร์ (Floor Housekeeper หรือ Assistant Housekeeper) ซึ่งปกติจะมีประมาณ 3 คนขึ้นไป ในกรณีเป็นโรงแรมขนาดเล็ก หัวหน้าแม่บ้านก็จะดูแลรับผิดชอบงานแผนกแม่บ้านทั้งหมด ในการทำงานเป็นหัวหน้าแผนกแม่บ้านต้องทำงานประสานอย่างใกล้ชิดกับแผนกต้อนรับส่วนหน้าที่เกี่ยวกับห้องพักที่พร้อมจะขาย(ให้เช่า) ได้ อีกทั้งต้องประสานงานกับแผนกซ่อมบำรุงเพื่อให้ช่วยซ่อมอุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจจะชำรุดเสียหายทั้งภายในห้องพักและบริเวนอื่นในโรงแรม

แผนกครัว (Kitchen)

ในโรงแรมขนาดใหญ่ที่มีห้องอาหารหลายห้องและบาร์เครื่องดื่มอยู่หลายจุด มักจะมีตำแหน่งและบุคคลที่มีหน้าที่ ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Manager) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานทุกแผนกที่เกี่ยวข้องกับด้านอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องทำงานประสานกับหัวหน้าแผนกครัว (Head Chef) อย่างใกล้ชิด

Artwork (10).png

หน้าที่งานหลัก ๆ ของผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ การสรรหาคัดเลือกและฝึกอบรมพนักงาน วางแผนและควบคุมการจัดซื้อของ ดูแลให้การจัดเตรียมอาหารเป็นไปโดยมีมาตรฐานสูง ตลอดจนกำหนดและควบคุมงบประมาณที่เกี่ยวข้องกุ๊กทำงานอะไรบ้าง แผนกครัว แบ่งย่อยเป็นแผนกต่างๆ ดังนี้

  • ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Manager)
  • กุ๊กใหญ่ หรือ หัวหน้าแผนกครัว (Head Chef or Executive Chef)
  • รองกุ๊กใหญ่ หรือรองหัวหน้าแผนกครัว (Second Chef or Sous Chef)
  • หัวหน้าครัวหรือหัวหน้าหน่วยในครัว (Section Chef หรือ Chef de Partie)
  • ผู้ช่วยกุ๊ก (Commia Chef)
  • กุ๊กฝึกหัด (Apprentice หรือ Trainee Chef)
  • พนักงานทำความสะอาดในครัว (Kitchen Porter/Kitchen Assistant)
  • แผนกบัญชี (Accounting)

แผนกบัญชี (Accounting)

เป็นแผนกที่บริษัทไหนก็ต้องมี และต้องเน้นหรือเพิ่มประสิทธิภาพของกิจการ ก็จะให้ความสำคัญต่อการควบคุมด้านบัญชีและการเงิน พนักงานบัญชีจะต้องมีความเข้าใจในลักษณะงานต่าง ๆ ของระบบบัญชี และทำความคุ้นเคยกับลักษณะการดำเนินงานของโรงแรมอีกด้วย เช่น การควบคุมด้านอาหารและเครื่องดื่ม หรือระบบการเก็บเงินของแผนกต้อนรับส่วนหน้า พนักงานบัญชีที่ดีนั้นไม่ควรจำกันความสามารถ หรือหน้าที่เพียงการรวบรวมตัวเลขทางการเงินอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องทำความเข้าใจและตีความได้ว่าตัวเลขแบบใดเป็นตัวชี้ว่าเกิดปัญหาอะไร ขึ้น ตรงไหน และสามารถเข้าจัดการแก้ไขได้ แต่ในบางโรงแรม เวลาผู้จัดการใหญ่ไม่อยู่ ผู้จัดการฝ่ายการเงินมักจะเป็นผู้รักษาการแทน

Artwork (11).png

แผนกขายและการตลาด (Sale & Marketing)

ตามโรงแรมใหญ่ ๆ มักจะมีเจ้าหน้าที่ชำนาญการเป็นผู้ดูแลการขายและการตลาดโดยเฉพาะ ได้แก่ ผู้จัดการแผนกขาย/การตลาด และทีมงาน ซึ่งมีงานหลัก ๆ ในการติดต่อกับลูกค้าที่จองเป็นกลุ่ม หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Group Bookings หรือที่ติดต่อมาเพื่อจัดประชุมหรือจัดงานเลี้ยงที่โรงแรม นอกจากนั้น แผนกขายจะทำหน้าที่ติดต่อกับบริษัททัวร์และบริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว รวมถึงการติดต่อกับบุคคลที่มีโอกาสเป็นลูกค้าของโรงแรม โดยไปหาด้วยตนเอง หรือติดต่อทางโทรศัพท์ หรือทางจดหมาย ส่วนแผนกการตลาดจะทำหน้าที่วางแผน และส่งเสริมงานขายด้วยวิธีส่งเอกสารถึงลูกค้าทางไปรษณีย์ (Direct mail selling) เช่น ส่งแผ่นพับโฆษณาและเอกสารส่งเสริมการขายไปยังลูกค้า และการทำงานโฆษณาด้วย

อัพเดทบทความล่าสุด

เพียงติดตามข่าวสารและอัพเดตล่าสุดจาก Soraso

*ในการกดติดตาม คุณยอมรับเงื่อนไขการใช้งานและนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา

total

มาดูกันว่าซอฟต์แวร์โรงแรม Soraso สามารถยกระดับโรงแรมของคุณได้อย่างไร

ดูการทำงานจริงจากผู้เชี่ยวชาญซอฟต์แวร์ของเราที่พร้อมให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์ที่สุดเกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงการจัดการโรงแรมของคุณ ฟรี!

เราให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ของคุณบนเว็บไซต์ของเรา วิเคราะห์การใช้งานเว็บไซต์ และช่วยในการตลาดของเรา เมื่อคลิก 'ยอมรับ' คุณยินยอมให้มีการเก็บคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่เราใช้คุกกี้และตัวเลือกของคุณเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของเรา โปรดดูที่ นโยบายคุกกี้.